For a better experience please change your browser to CHROME, FIREFOX, OPERA or Internet Explorer.
ซันคอนัวร์ (Sun conure)

ซันคอนัวร์ (Sun conure)

          ซันคอนัวร์ Sun conure เป็นนกปากขอขนาดกลาง มีความยางจากหัวไปถึงหางประมาณ 30 เซ็นติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม มีถิ่นกำเหนิดแถบอเมริกากลาง และอเมริกาไต้ พบมากในป่าของประเทศกิอานาและบางส่วนของประเทศบาซิลทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura

Aratinga จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)

Pyrrhura จะมีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure)

ซันคอนัวส์ เป็นนกที่มีนิสัยขี้เล่น ซุกซน และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นนกที่เข้ากับคนได้ดี สามารถนำมาฝึกให้เชื่องได้โดยเฉพาะถ้าเริ่มเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ เป็นนกที่เข้าใจภาษาคนได้ดี เสียงร้องค่อนข้างดังและต่อเนื่อง
นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน

การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก

การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก

การกัด เป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่

การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา

การจ้องมองของนก เมื่อ นกคอนัวร์ เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง

การพองขน เป็นการคลายความตึงเครียดของ นกคอนัวร์ แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย

การไซร้ขนให้กันและกัน เป็นนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา

ความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะแสดงออกถึงการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น

การไซร้ขน เป็นกิจวัตรประจำของมันซึ่งจะทำร่วมกับการพองขน และมีการจิกขนตัวเองในช่วงนี้สำหรับฤดูผลัดขน

การสำรอกอาหาร กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

การยืนพักขาเดียว การที่นกยืนขาเดียวถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเห็นนกยืน 2 ขา ตลอดเวลา คุณควรจะนำนกไปหาสัตวแพทย์เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ไม่แข็งแรง

การกรีดร้อง นกคอนัวร์ จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะยิ่งส่งเสียงร้อง บางครั้ง นกคอนัวร์ ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้อยู่ตัวเดียว นกคอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัวเดียวหรือเปล่า เจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับนกและลดความกลัวในตัวนกลง นกจะส่งเสียงกรีดร้องตามสัญชาติญาณเพื่อปกป้องฝูงของมันด้วย เมื่อนกรู้สึกเหนื่อยจะมีอาการหงุดหงิด และบางครั้งจะส่งเสียงร้องกรณีนี้เราควรจะคลุมกรงของมัน เพื่อให้มันสงบลงและปรับตัวเพื่อจะเข้านอนเร็วขึ้น

การนอน นกคอนัวร์ มักจะชอบมุดไปขดตัวนอนอยู่ใต้ผ้าหรือเศษไม้ที่เราใส่ไว้ในกล่องนอน และบางครั้งมันก็จะนอนหงายหลับไปในถ้วยอาหาร เพื่อให้นกได้พักผ่อนอย่างสบาย ควรหาเศษผ้าหรือตุ๊กตานุ่ม ๆ มาใส่ไว้ให้นก การนอนหงายในลักษณะเท้าชี้ฟ้าถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับคอนัวร์และก็เป็นท่าที่แสนสบายสำหรับมันด้วย

การจาม การจามในนกมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ การจามเพื่อให้จมูกโล่ง บางครั้งมันยังจะใช้นิ้วใส่เข้าไปในรูจมูก เพื่อให้เกิดอาการระคายเคืองและจามออกมา จามแบบที่สอง เนื่องมาจากนกเป็นหวัดในกรณีนี้การจามในแต่ละครั้งจะมีน้ำมูกและทำให้รูจมูกเปียก ถ้านกเป็นในกรณีที่สองนี้ควรนำนกเข้าพบสัตวแพทย์ทันที

ความเครียด ความเครียดนกจะมีอาการตัวสั่น ท้องร่วงหายใจเร็วสั่นหางและปีก จิกขนตัวเอง นอนไม่หลับ และไม่เจริญอาหาร นกในตระกูลนกปากขอชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันและไม่ชอบการเปลื่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลื่ยนแปลงในบรรยากาศรอบตัวหรือตารางเวลาของการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลื่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างควรจะพูดกับนกของคุณก่อนอาจจะฟังดูเหมือนบ้าแต่การกระทำดังกล่าวจะช่วยให้นกไม่เกิดความเครียดจนเกินไป

การลิ้มลองของ นกคอนัวร์ จะสำรวจสิ่งรอบๆ ตัวด้วยปากมากพอ ๆ กับที่เราใช้มือ และไม่ต้องแปลกใจถ้านกของคุณจะใช้ปากและลิ้นกัดดูที่มือของคุณก่อนที่จะปีนขึ้นมาเกาะในครั้งแรก นกไม่ได้ตั้งใจที่จะกัดคุณแต่มันกำลังสำรวจ
การใช้เสียง นกในตระกูลนกปากขอ โดยส่วนใหญ่จะส่งเสียงร้องช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตกของทุก ๆ วัน
การหาว ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจเชื่อว่านกขาดออกซิเจนในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกคนกล่าวว่านกแค่หาวและบิดขี้เกียจ บริหารกล้ามเนื้อเท่านั้น ในกรณีที่คุณไม่เห็นว่านกมีท่าทางไม่สบาย (อาเจียน สำรอกอาหาร) คุณก็คงไม่ต้องเป็นห่วงจนเกินไป
ซันคอนัวร์ เมื่ออายุประมาณ 2 ปี่ ก็เข้าจะเริ่มสู่วัยเจริญพันธุ์ ออกไข่ครังละ 2-5 ฟอง สามารถให้ผลผลิตได้ปีละ 3-4 ครอก(บางคู่อาจได้ถึ 5 ครอก) ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 23-25 วัน การเลือกนกที่จะนำมาทำพ่อแม่พันธุ์ ต้องเลือกนกที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีการตื่นตัวกับสิ่งเร้ารอบข้างอยู่ตลอดเวลา การแยกเพศของนกทำได้โดยการเจาเะเลือดเพื่อนำไปตรวจดีเอ็นเอ ซึ่งให้ผลค่อนข้างแม่นยำ มีการผิดพลาดน้อยกว่าการดูจากลักษณะภายนอกและการจับตะเกียบ ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดค่อนข้างสูง

สำหรับนกโตเต็มวัยควรได้รับอาหาร 3 ประเภทหลักๆ คือ ผัก และผลไม้ ถั่วต่าง ๆ และเมล็ดพืช ในอัตราส่วนใกล้เคียงกันเป็นประจำทุกวัน โดยถั่วที่ให้นกกินควรเป็นถั่วต้มสุก ร่วมกับการให้วิตามิน และแร่ธาตุสำหรับนก ไม่ควรให้นกกินเฉพาะเมล็ดพืช เนื่องจากนกจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนอาหารหลักที่ให้
สรุปอาหารซันคอนัวร์ คือเมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่นเมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ด ข้าวไรน์ มิลเล็ต เมล็ดปอ ๆลๆ แล้วเสริมด้วยผลไม้หลากหลายชนิดผลัดเปลียนกันไปตามโอกาส เช่น ข้าวโพดสด ฝรั่ง แอปเป็ล แครอท กล้วยน้ำหว้าสุก ฯลฯ ที่ต้องให้เมล็ดธัญพื่ชและผลไม้หลายๆอย่าง เพราะจะทำให้นกได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย กระดองปลาหมึก เปลือกหอยป่น ก็นับเป็นสิ่งสำคัญ ควรนำมาให้นกได้จิกแทะกิน เพื่อเป็นการคลายเครียด และยังทำให้นกยังได้รับแร่ธาตุที่สำคัญอีกด้วย
กรงสำหรับเลี้ยงซันคอนัวร์เพื่อการเพาะพันธุ์ ควรมีความยาวของกรงประมาณ 120-150 เซนติเมตร ความกว้างและความสูงประมาณ 70-100 เซนติเมตร ต้องเป็นกรงที่มีความแข็งแรงพอประมาณ ขนาดของลวดที่ใช้ทำกรงต้องมีขนาดใหญ่(ขนาดลวดเบอร์ 13 เป็นอย่างน้อย) ขนาดความถี่ของซี่ลวดต้องมีความเหมาะสม คือถ้าเลี้ยงในโรงเรือนที่มีตาข่ายล้อมรอบ ก็สามารถใช้กรงที่มีซี่ห่างๆได้ เช่น 1*2 นี้ว หรือ 1*1.5 นิ้ว แต่ถ้าเป็นการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน กรงที่ใช้เลี้ยงต้องสามารถป้องกันหนูและงูที่จะเข้าไปทำร้ายนกที่เราเลี้ยงได้ คือเราต้องใช้กรงที่มีซี่ลวดถี่ๆนั้นเอง และควรจะมีลิ้นชักสำหรับให้อาหารนกเพื่อป้องกันไม่ไห้นกหลุด หรือบินสวนออกมาในขณะที่เรากำลังให้อาหารด้วย

กรงที่ใช้เลี้ยงควรติดตั้งคอนที่ทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นจำนวน 2 อัน ควรติดตั้งไว้ที่ระดับสูงบริเวณปากทางเข้ากล่องไข่ 1 อัน และไว้ที่ระดับต่ำ 1 อัน เพื่อให้นกสามารถกระโดดไปกระโดดมาได้อย่างสะดวก
การเลี้ยงนกที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมล็ดธัญพืช ผักสด ผลไม้ วิตมิน และแร่ธาตุ ต้องจัดให้อย่างต่อเนื่องอย่าให้ขาด เพื่อให้นกมีความสมบูรณ์ แข็งแรงมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การสร้างผลผลิตที่ดี
การเข้าคู่ของนกที่จะนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ เราจะสังเกตุจากพฤติกรรมต่างๆของนก เช่นการป้อนปาก แต่งขนไซร์ขนให้กัน เริ่มเข้าออกกล่องไข่และคุ้ยกล่องใข่เพื่อตกแต่งแป็นรังไข่ แม่นกจะเริ่มออกไข่หลังจากได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนการออกไข่นกจะเริ่มมีอาการดุขึ้น แสดงอาการหวงกล่องไข่เมื่อเราเข้าใกล้ นกตัวเมียกินอาหารเก่งขึ้น ขนาดร่างกายดูอ้วนและสมบูรณ์ขึ้น ท้องจะห้อยหรือย้อยจนสังเกตุเห็นได้ชัด นกซันคอนัวร์จะออกไข่วันเว้นวัน จำนวนครอกละ 2-5 ฟอง ระยะเวลาการกกไข่ 23-25 วัน ลูกนกจึงจะเริ่มออกจากไข่ ช่วงระยะเวลาทีนกเริ่มออกไข่ กกไข่ และช่วงลูกนกออกจากไข่ใหม่ๆ ผู้เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงการเปิดกล่องไข่โดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ไห้พ่อแม่นกเกิดความหวาดระแวง หรือตื่นตกใจ จนนำไปสู่การเหยียบไข่ การทำลายไข่ หรือการทำร้ายลูกนกได้

เมื่อลูกนกเกิด ควรปล่อยให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกนกไปสักระยะหนึ่งก่อน แต่จะนานแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกนกที่เกิดมา และความเก่งหรือความขยันของพ่อแม่นกในการเลี้ยงดูลูกนก พ่อแม่นกแต่ละคู่จะเลี้ยงลูกนกไม่เหมือนกัน บางคู่เลี้ยงลูกได้ 4 ตัวสมบูรณ์ดีทั้ง 4 ตัว แต่บางคู่เลี้ยงลูกโตและสมบูรณ์แค่ 1 หรือ 2 ตัวแรก ตัวที่ 3-4 แคระแกรน และบางคู่ไม่ยอมเลี้ยงลูกเลยก้อมี สิ่งต่างเหล่านี้ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่และจดจำให้ได้ว่านกของท่านเป็นอย่างไร และจะจัดการอย่างไรที่จะทำให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด แต่สำหรับผู้เขียนเอง จะปล่อยให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกตัวแรกประมาณ 7 วันจึงค่อยนำลูกตัวแรกหรือตัวที่โตสุดออกมาเลี้ยง(ป้อน)แทนพ่อแม่ จากนั้นอีก 3-4 วันจะเอาลูกนกตัวที 2 ออก และต่อจากเอาตัวที่สองออกได้ 3-4 วันจึงเอาตัวที่ 3 ออก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดลูกนกในกล่องไข่ สาเหตุที่ต้องทำเช่นนั้นก็เพราะเหตุผล 3 ประการคือ

1. ป้องกันไม่ให้ลูกนกที่ตัวใหญ่เบียดทับลูกนกตัวเล็กๆ จนเกิดความเสียหาย
2. ไม่อยากให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกหลายตัวนานเกินไป จนเป็นเหตุให้พ่อแม่นกทรุดโทรม
3. พ่อแม่นกเลี้ยงลูกใช้ระยะเวลาน้อยเท่าไหร ก็จะสามารถให้ผลผลิตครั้งต่อไปเร็วขึ้น

หลังจากที่เอาลูกนกออกจากกล่องไข่เพื่่อนำมาเลี้ยง(ป้อน)เอง จนหมดจากกล่องไข่แล้ว ผู้เลี้ยงต้องทำความสะอาดกล่องไข่ เปลี่ยนวัสดุรองรัง(ถ้าเป็นไปได้นำกล่องไข่ไปตากแดดด้วยก็ดี) ต่อจากนั้นก็ให้น้ำ ให้อาหาร ให้วิตมินและแร่ธาตุ และคอยดูแลเอาใจใส่นกของท่านอย่างสม่ำเสมอ อีกไม่นานนกของท่านก็จะออกไข่หรือให้ผลผลิตออกมาให้ท่านเชยชมอีกครั้ง

Top Mobile Apps
Mobile Apps